1.ปูรณกัสป ศาสดาแห่งฝ่ายอริยกทิฏฐิ คือถือว่า ไม่มีเหตุไม่มีผล ไม่มีบุญไม่มีบาป ทำความดีก็ไม่เป็นความดีและไม่มีผล ทำความชั่วก็ไม่เป็นความชั่วและไม่มีผล ทำอะไรก็สักแต่ว่าเป็นการทำเท่านั้น ไม่เป็นการกระทำที่เกิดผล
2.มักขลิโคศาล ศาสดาแห่งลัทธิฝ่ายอเหตุกทิฏฐิ คือถือว่าความบริสุทธิ์ หรือความเศร้าหมองไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย ย่อมเป็นเองมีเองตามธรรมชาติ จะปฏิบัติตนเพื่อความบริสุทธิ์ หรือจะทำให้เศร้าหมองด้วยการทำชั่ว ย่อมไม่มีผลหรือก่อให้เกิดผลอะไร ทุกสิ่งมีเองเป็นเองไม่มีเองไม่เป็นเอง ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย
3.อชิตเกสกัมพล (อชิตผู้ใช้ผ้ากัมพลทำด้วยผมคน) ศาสดาแห่งลัทธินัตถิกทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิ คือถือว่าไม่มีอะไรทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ พ่อแม่ ความดี ความชั่ว มีแต่ธาตุ 4 รวมตัวกันเมื่อมีชีวิต พอตายแล้วก็แยกกัน ไม่มีอะไรเหลือ ไม่มีอะไรเกิด ไม่มีอะไรดับ ตายแล้วสูญ (ศูนยวาท)
4.ปกุทธกัจจายนะ ศาสดาแห่งลัทธินัตถิกทิฏฐิ คล้ายอชิตเกสกัมพล แต่ต่างออกไปว่า กายมี 7 คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม สุข ทุกข์ และชีวะ เมื่อกายรวมกัน จึงสมมติเรียกเป็นคน เป็นสัตว์ แต่ความจริงแล้ว ไม่มีคน ไ ม่มีสัตว์ ไม่มีอะไรทั้งสิ้น แม้แต่กายนั้นโดยความจริงแล้วก็ไม่มี ดังนั้นจึงไม่มีผู้ให้ ผู้รับ ผู้ฆ่า ผู้ถูกฆ่า แต่เป็นกายสัมผัสกายเท่านั้น ซึ่งโดยความเป็นจริงแล้วก็ไม่มีการสัมผัสอีกเหมือนกันเพราะการสัมผัสนั้น เป็นการสมมติเรียก เมื่อเป็นการสมมติจึงไม่มี
5.สญชัยเวลัฏฐบุตร ศาสดาแห่งลัทธิอมราวิกเขปิกทิฏฐิ คือถืออะไรเป็นหลักไม่ได้ มีความเห็นส่ายไปส่ายมาดุจปลาไหล ไม่ยุติ เป็นเรื่องวาทศิลป์มากกว่า เช่น มีผู้ถามว่าบุญบาปมีจริงหรือไม่ ท่านสญชัยก็ตอบว่า ถ้าข้าพเจ้าเห็นว่าบุญบาปมีจริง ก็จะตอบท่านว่าบุญบาปมีจริง ถ้ามีผู้ถามซ้ำอีกว่า ท่านเห็นว่าบุญบาปมีจริงหรือไม่ ท่านสญชัยตอบแบบถือหลักอะไรไม่ได้ คือแบบส่ายไปมาว่า ข้าพเจ้าจะเห็นอย่างนั้นก็ไม่ใช่ จะเห็นโดยอาการอย่างนั้นก็ไม่ใช่ จะเห็นเป็นอย่างอื่นก็ไม่ใช่ จะไม่เห็ฯเป็นอย่างอื่นก็ไม่ใช่
6.นิครนถนาฏบุตร (มหาวีระ) ศาสดาแห่งลัทธิอัตถิกทิฏฐิ คือถือว่า ทุกสิ่งมีชีวะ ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นบ้านเรือน ต้นไม้ สัตว์ คน
ย่อมมีชีวะ มีอัตตาทั้งนั้น
วันศุกร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
คัมภีร์ทั้ง 4
คัมภีร์ฤคเวท
เชื่อว่าเป็นหนังสือที่เก่าแก่ที่สุดของอินเดีย กล่าวถึงบทสวดสรรเสริญพระเป็นเจ้า และลักษณะการบูชาสังเวยพระเป็นเจ้าด้วยสิ่งต่าง ๆ ในศาสนาพราหมณ์ บรรจุเรื่องราวสภาพสังคม และการใช้ชีวิตของคนในสมัยนั้น กล่าวกันไว้ว่าคัมภีร์นี้ได้ออกจากพระโอษฐ์ของพระพรหม และเหล่าฤาษีได้นำมาสั่งสอนมวลมนุษย์อีกที คัมภีร์นี้เป็นบทสรรเสริญบนบานต่อเทพเจ้าเพื่อขอให้ช่วยกำจัดภัยทั้งหลาย ทั้งมวล นับเป็นคัมภีร์เล่มแรกในวรรณคดีพระเวท เป็นตำราทางศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ประกอบไปด้วยบทสวดที่วางท่วงทำนองในการสวดไว้อย่างตายตัว กล่าวถึงบทสรรเสริญคุณ อำนาจแห่งเทวะ และประวัติการสร้างโลก รวมถึงหน้าที่ของพระพรหมผู้สร้างมนุษย์และสรรพสิ่ง ซึ่งจะใช้ในพิธีการบวงสรวงเทพเจ้าต่าง ๆ ของชาวอารยัน ตามประเพณีของฮินดูแล้ว การแบ่งหมวดหมู่ของคัมภีร์พระเวทนี้ วยาส ( ผู้แต่งมหากาพย์ มหาภารตะ ) เป็นผู้ทำขึ้นโดยรับคำสั่งจากพระพรหม การจัดรวบรวมบทสวดในคัมภีร์ฤคเวทนี้ เรียกว่า ฤคเวทสังหิตา
คัมภีร์ยชุรเวท
เป็น คัมภีร์ใช้ในการประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ของพราหมณ์ กล่าวถึงลักษณะและความสำคัญของพิธีกรรมบูชาไฟ และพิธีกรรมต่าง ๆ แสดงถึงพิธีกรรมต่าง ๆ ทั้งการบูชาและการบวงสรวง เป็นคัมภีร์ที่พวกพราหมณ์อัธวรรยุ ๔ ใช้ในการทำพิธีบูชา รจนาขึ้นราว ๑-๒ ศตวรรษหลังจากฤคเวท โดยเนื้อหาส่วนหนึ่งได้มาจากฤคเวท นำมาดัดแปลงและเรียบเรียงขึ้นใหม่ อีกส่วนเป็นบทร้องกรองที่ใช้ในพิธีบูชาโดยเฉพาะ ยชุรเวทนี้แบ่งออกเป็น ๒ ชนิดคือ
๒.๑ ไตติริยะสังหิตา หรือ “พระกฤษณะ” หรือ “ยชุรเวทดำ” เป็นยชุรเวท เดิมที่ยังไม่ได้มีการแบ่งแยก
๒.๒ วาชเนยิสังหิตา หรือ “ศุคล” หรือ “ยชุรเวทขาว” คือยชุรเวทที่แบ่ง เฉพาะโศลกไว้พวกหนึ่ง และร้อยแก้วไว้อีกพวกหนึ่งในการทำพิธีบูชายัญนั้น พิธีที่สำคัญคือ ทศปุรณมาส เป็นการกระทำพิธีในคืนพระจันทร์เต็มดวง และ อัศวเมธ คือการทำพิธีบูชายัญด้วยการถวายม้า
คัมภีร์สามเวท
ประกอบด้วยโคลงบทสวด สำหรับพราหมณ์ใช้สวดทำพิธีสังเวยบูชาเทพเจ้า และการบูชาด้วยน้ำโสมเนื้อหาส่วนใหญ่ของสามเวทนี้จะได้มาจากฤคเวท นำมาร้อยกรองเป็นบทสวด เป็นเนื้อหาในส่วนที่ใช้ในการแสดงกลศาสตร์ หรือศิลปศาสตร์ รวมถึงสังคีตอันเป็นบทสวดสรรเสริญคุณและฤทธิ์ของเทวะ ใช้เฉพาะในหมู่ของพวกพราหมณ์อุทคาตรี ๔ สำหรับการทำพิธีบูชาน้ำโสม สังหิตาของสามเวทนี้แบ่งออกเป็น ๒ ตอน คือ “อรชิต” มีบทร้อยกรอง ๕๘๕ บท และ“อุตตรารชิต” มีบทร้อยกรอง ๑,๒๒๕ บท คัมภีร์พระเวทสามเล่มแรกนี้ หมายถึง ฤคเวท ยชุรเวท สามเวท นับเป็นสามเล่มหลักรวมเรียกว่า ไตรเวท หรือ ไตรเพท
คัมภีร์อาถรรพ์เวท
เป็นพระเวทที่สี่ซึ่งเขียนขึ้นมาในภายหลัง ประกอบด้วยบทสวดคาถาเกี่ยวกับไสยศาสตร์ เป็นพระเวทชนิดพิเศษเรียกว่า “ฉันท์” อันมิได้ถูกจัดอยู่ในไตรเพทเพราะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการประกอบพิธี บูชายัญแต่อย่างใด อาถรรพ์เวทนี้ถือว่าเป็นความรู้ที่ปรากฏแก่พวกพราหมณ์อัธวรรยุ พระเวทตอนนี้มีความเกี่ยวของกับไสยศาสตร์บทสวดต่าง ๆ อันมีจุดประสงค์เพื่อขจัดโรคและภัยพิบัติ ทั้งกล่าวรวมถึงหน้าที่ของกษัตริย์และสัจธรรมขั้นสูง คัมภีร์พระเวทแต่ละคัมภีร์นั้นจะแบ่งออกเป็น ๒ ตอนใหญ่ ๆ คือ มันตระ และ พราหมณะ “มันตระ” หรือ “มนต์” จะรวบรวมบทสวดที่กล่าวถึงเทพเจ้าแห่งปัญญา สุขภาพ ความมั่งคั่ง และความมีอายุยืน รวมถึงบทสวดอ้อนวอนเพื่อขอทาสบริวาร สัตว์เลี้ยง บุตร ชัยชนะในสงคราม หรือแม้กระทั่งการของให้ยกเลิกซึ่งบาปทั้งปวงอันได้กระทำลงไป บางทีก็เรียกว่า สังหิตา หมายถึง บทสวดหรือมนต์ที่ใช้ในการทำพิธีบูชานั่นเอง ส่วนขยายเนื้อหาของคัมภีร์อาถรรพ์เป็นส่วนว่าด้วยมนต์พระเวทเกี่ยวกับ อาถรรพ์ต่าง ๆ เช่น
- การรักษาโรคภัยไข้เจ็บ
- การกำจัดภัยร้ายจาก พยาธิภัย หรือมรณะภัย
- การใช้เสกสิ่งต่าง ๆ เข้าในตัวหรือฝังรูปฝังรอย หรือเสน่ห์ยาแฝด เป็นต้น คัมภีร์ฤคเวท มันตระ จะเรียกว่า “ฤค” อันเป็นร้อยกรองที่มีใจความในการสรรญเสริญพระเจ้า เป็นท่วงทำนองเพื่อการอ่านออกเสียงในการทำพิธีบรวงสรวง คัมภีร์ยชุรเวท มันตระ เรียกว่า “ยชุส” เป็นร้อยแก้ว ที่ใช้สวดออกเสียงค่อย ๆ ในการประกอบศาสนพิธี คัมภีร์สามเวท มันตระ จะเรียกว่า “สามัน” อันเป็นบทสวดมีทำนอง แต่ใช้เฉพาะในพิธีบูชาน้ำโสม ส่วนใน อาถรรพ์เวทนั้น มันตระ ไม่มีชื่อเรียกโดยเฉพาะ นอกเหนือจากคัมภีร์สำคัญ ๔ คัมภีร์ที่กล่าวข้างต้นแล้ว เหล่าพราหมณ์ได้ช่วยกันสร้างพระเวทขึ้นอีก ๔ ส่วน เรียก อุปเวท คือตำราต่าง ๆ ในส่วนที่เฉพาะเจาะจงไปในแต่ละสาขา ประกอบด้วย
๑. อายุรเวท คือตำราแพทย์ศาสตร์ ว่าด้วยการใช้สมุนไพร และเวทมนต์ในการรักษาโรค โดยมีเทวดาประจำ คือ ฤาษีทั้ง ๗ (ไม่ปรากฏนาม)
๒. คานธรรพ์เวท คือตำราดนตรี นาฏศิลป์ หรือการฟ้อนรำ และการขับร้องโดยมีเทวดาประจำ คือ พระนารทฤาษี หรือฤาษีนารอท หรือพระปรคนธรรพ
๓. ธนุรเวท คือตำราวิชายิงธนู และการใช้อาวุธในสงคราม เรียก ยุทธศาสตร์ เทวดาประจำ คือ พระขันทกุมาร
๔. สถาปัตยเวท คือตำราวิชาก่อสร้าง (ปัจจุบันเรียกสถาปัตยกรรม) เทวดาประจำ คือ พระวิษณุกรรม
จากอดีตจนถึงปัจจุบันได้มีการบูชาเทพเทวดาผู้ดูแลตำราคัมภีร์ทั้ง ๔ นี้โดยตลอด ดังจะเห็นจากการทำพิธีไหว้ครูของศิลปินแขนงต่าง ๆ พราหมณะ เป็นส่วนที่อธิบายถึงวิธีและรายละเอียดในการจัดศาสนพิธิที่ต้องสวดมันตระ และอธิบายเรื่องราวต่าง ๆ ที่ต้องเกี่ยวข้องกับมันตระ คัมภีร์พระเวทเฉพาะตอนของ พราหมณะ นี้ ยังสามารถแยกออกเป็นแขนงสำคัญได้อีก ๒ แขนงคือ อารัณยกะ และ อุปนิษัท อารัณยกะ แปลว่า บทเรียนผู้อยู่ในป่า เป็นบทคำสอนการดำเนินชีวิตของพราหมณ์ตั้งแต่เกิดจนกระทั่งออกจากป่าบำเพ็ญ เพื่อบรรลุโมษะ การปฏิบัติตามบทเรียนนั้นๆ เรียกว่า การเข้าสู่อาศรม คัมภีร์อารัณยกะนี้มีลักษณะการพัฒนาทางจิตอันก้าวไปได้ไกลมากในพัฒนาการของ แนวความคิดทางศาสนาของชาวอินดู อาศรมแห่งการบำเพ็ญเพียร ประพฤติตนให้เป็นพราหมณ์ ดำเนินความตามคัมภีร์อารัณยกะแห่งพราหมณะมีอยู่ “อาศรม ๔” หรือ ๔ ลำดับแห่งการบำเพ็ญตน คือ
๑. พรหมจารี แปลว่า ผู้ประพฤติพรหมจรรย์
๒. คฤหัสถ์ แปลว่า ผู้ครองเรือน
๓. วนปรัสถ์ แปลว่า ผู้อยู่ป่า
๔. สันยาสี แปลว่า ผู้แสวงหาธรรม อาศรมทั้ง ๔ ( Stages of Life ) นับเป็นแนวทางปฏิบัติอันเป็นต้นรากแห่งชีวิตของพราหมณ์ ถือว่าเป็นธรรมประจำตัวของชาวฮินดู ผู้มุ่งต่อโมษะที่เป็นไปในเบื้องหน้า อุปนิษัท แต่งขึ้นโดยยึดคัมภีร์พระเวทเป็นหลัก แปลตามตัวพยัญชนะว่า “เข้าไปนั่งลง” ตามความหมายว่า บทเรียน ซึ่งได้แก่บทเรียนอันเป็นส่วนลึกลับ ( Esoteric Doctrine ) เป็นปรัชญาเกี่ยวกับเรื่องดวงวิญญาณอันเนื่องด้วยพรหม นับเป็นคัมภีร์สำคัญหมวดหนึ่งของชาวฮินดู เป็นอรรถาธิบายความของคัมภีร์พระเวท (ส่วนสุดท้ายคือ เวทานตะ) ๕ แต่งเป็นบทร้อยกรองที่มีความลึกซึ้งทางจิตใจ อธิบายเกี่ยวกับเนื้อหาทางศาสนาและปรัชญามีจำนวนมากกว่า ๒๐๐ บท แต่มีเพียง ๑๒ บท ที่ยอมรับกันว่าเป็นอุปนิษัทหลัก เนื้อหาในคัมภีร์อุปนิษัทนี้นับเป็นฐากฐานให้กับระบบปรัชญาและศาสนาของชาว ฮินดู และถือเป็นคัมภีร์สุดท้ายแห่งการศึกษาเล่าเรียนเพื่อถึงที่สุด จึงนับเป็น เวทานตะ อันหมายถึง ที่สุดแห่งพระเวท ในสมัยต่อมา มีคัมภีร์ใหม่เกิดขึ้นอีกเล่มหนึ่งคือ “อิติหาส” หรือบางทีก็เรียกว่าเป็น ”พระเวทที่ ๕” ประกอบด้วยบทร้อยกรอง เรื่องราวเก่าแก่ และปุราณะ นอกจากนี้ยังมีพระเวทชั้นสองที่เรียกว่า “อุปเวท” เป็นคัมภีร์ที่ว่าด้วยเรื่องราวเกี่ยวกับดนตรี ยารักษาโรค ฯลฯ
กูรมาวตาร
พระนารายณ์อวตาร ลงมาเป็นเต่ายักษ์ เพื่อปราบอสูรมัจฉา เรื่องกล่าวย้อนไปถึงการกวนน้ำอมฤต ในขณะที่พระนารายณ์ทรงอวตารเป็นเต่ายักษ์ เพื่อหนุนแผ่นดินมิให้ทะลุลงไปถึงโลกมนุษย์ พระองค์ได้พบกับอสูรมัจฉาในขณะกำลังใช้ปากแทะแผ่นดินเพื่อเปิดทางให้น้ำอมฤต ไหลทะลักสู่ โลกมนุษย์ ด้วยอสูรมัจฉามีความคิดที่ต้องการเป็นใหญ่แต่เพียงผู้เดียวในโลก เมื่อพระนารายณ์ (เต่ายักษ์) เห็นการกระทำนั้นจึงเข้าขัดขวางทำการ ต่อสู้กับอสูรตนนั้น หากจะกล่าวถึงอิทธิฤทธิ์ของอสูรย่อมมีมากมายนัก ส่วนเต่ายักษ์ก็เข้าต่อสู้จนที่สุดแล้วเต่ายักษ์เป็นฝ่ายมีชัยชนะ เรื่องจึงจบลง และเต่ายักษ์จึงกลับร่างเป็นพระนารายณ์คืนสู่วิมานดั่งเดิม
วราหาวตาร
อวตาร ปางที่นี้อยู่ในโลกยุคที่ ๑ พระวิษณุทรงอวตารเป็นหมูป่า (วราห์) เพื่อปราบปรามยักษ์ผู้มีนามว่า “หิรัณยากษะ” (ผู้ซึ่งมีนัยน์ตาทอง) ซึ่งเป็นอสูรที่ชั่วร้ายมีความร้ายกาจยิ่งนัก เดิมนั้นอสูรตนนี้ได้บำเพ็ญตบะเพื่อบูชาพระอิศวรทำให้พระองค์โปรดปรานและพอ พระทัยยิ่งนัก จึงประทานให้อสุรตนนี้มีฤทธิ์สามารถปราบได้ทั่วสากลจักรวาล พญาอสูรจึงได้มีความฮึกเหิมอหังการยิ่งนัก ได้จัดการม้วนแผ่นดินโลกทั้งหมด แล้วหนีบใต้รักแร้ หนีลงไปอยู่ในบาดาล ในที่สุดต้องเดือดร้อนถึงพระวิษณุอวตารลงมาเป็นหมูป่า (วราห์) เพื่อปราบปรามยักษ์ตนนี้ หมูนี้มีเขี้ยว เป็นเพชร ดำน้ำลงไปในมหาสมุทรต่อสู้กับพญาอสูรหิรัณยักษ์ จนเวลาล่วงเลยไปถึง ๑ พันปี จึงสามารถฆ่าหิรัณยักษ์ได้สำเร็จ ท้ายที่สุดก็เอา เขี้ยวเพชรนั้นงัดเอาแผ่นดินขึ้นมาไว้บนผืนน้ำตามเดิม
กัลกยาวตาร
พระวิษณุอวตารใน ปางนี้ ทรงเป็นมหาบุรุษขี่ม้าขาวถือดาบในมือขวาทำลายศัตรูของมนุษย์เพื่อปราบกลียุค ที่เต็มไปด้วยเหล่าคนชั่วหรือเหล่าอธรรมทั้งหลาย เมื่อปราบอธรรมแล้วก็จะสถาปนาศาสนาขึ้นใหม่ มหาบุรุษนี้จะมีนามว่า กัลก, กัลกี, หรือ กัลกิน เป็นบุตรของพราหมณ์ชื่อวิษณุยศ อวตารนี้เป็นอนาคตาวตาร (อนาคต+อวตาร) คือ เป็นการอวตารของพระวิษณุยังไม่เกิดขึ้น และหลังจากอวตารแล้ว กลียุคก็ จะสิ้นสุดลง จึงพอจะกล่าวได้ว่ากัลกยาวตารนี้เป็นอวตารที่จะเสด็จลงมาปราบคนชั่วที่มีมาก มายโดยไม่เจาะจงว่าเป็นใครจะมีลักษณะคล้ายกับกฤษณาวตารที่คนชั่วมีมากจนไม่ อาจจะชี้ชัดได้ว่าเป็นใครซึ่งต่าง กับรามาวตาร (อวตารเป็นพระราม) หรือนรสิงหาวตารที่จะอวตารลงมาเพื่อปราบปรามคนใดคนหนึ่งโดยเฉพาะและอาจกล่าว ได้ว่าโลกเราทุกวันนี้ก็คงจะจะใกล้ถึงยุคของกัลกยาวตารเพราะว่าคนชั่วมากมาย เหลือเกิน
กฤษณาวตาร
กล่าวถึงคัมภีร์ปุราณะ มหากาพย์รามายณะ มหาภารตะ และตำนานเก่าต่าง ๆ ของอิน เดีย รวมถึงคัมภีร์ทางศาสนาฮินดูอื่น ๆ ได้บันทึกและกล่าวถึงไว้ว่า พระวิษณุเทพได้อวตารลงมาเพื่อปราบยุคเข็ญให้แก่ เหล่ามวลมนุษย์ทั่วไป ในช่วงเหตุการณ์โลกเกิดกลียุคและเกิดความไม่สงบสุขจากเหล่าอสูร จึงทรงอวตารลงมาในปางต่างๆ ซึ่งปางพระกฤษณะเทพ คือปางที่ ๙ ในการอวตาร ๑๐ ปาง ของพระวิษณุเทพ นั่นเอง ลัทธิไวษณพนิกาย กล่าวไว้ว่าพระกฤษณะเกิดมาเพื่อทำลายอสูร ชื่อกังสะ ซึ่งเป็นลุงของพระกฤษณะเอง อสูรกังสะตนนี้ปลอมตัวมาเป็นกษัตริย์นามว่า อุคราเสน แห่งเมืองมถุรา และได้ใช้อำนาจ แย่งชิงมเหสีจากกษัตริย์ (องค์จริง) มาโดยมิชอบ และมเหสีก็ทรงไม่ทราบว่าเป็นอสูรที่แปลงกายมาเป็นสวามีของตนอสูรกังสะ เมื่อขึ้นครองเมืองก็สร้างความเดือดร้อนให้ประชาชนทั่วไป ต่อมาเมื่อพระ วิษณุเทพทรงทราบถึงความเดือดร้อนของประชาชน จึงทรงอวตารมาในปางพระกฤษณะเพื่อปราบอสูรกังสะตนนี้
รามาวตาร
หลังจากนนทุกถูก สังหารแล้วก็ได้ไปเกิดใหม่พร้อมกับพรของพระวิษณุว่าให้มีสิบหัวยี่สิบมือ โดยไปเกิดเป็นโอรสของลัสเตียนกับพระนางรัชดาแห่งกรุงลงกามีคุณสมบัติตามพร ที่ได้รับจากพระวิษณุ ทุกประการคือมี สิบเศียร ยี่สิบกร มีนามว่า “ท้าวราพนาสูร” หรือ “ทศกัณฐ์” ส่วนพระวิษณุนั้นอวตารลงมาเกิดเป็นมนุษย์ทรงพระนามว่า “พระราม” เป็นโอรสของท้าวทศรถและพระนางเกาสุริยา กษัตริย์สูรย์วงศ์แห่งกรุงศรีอยุธยามีพระอนุชาทรงพระนามว่า “พระลักษมณ์” “พระพรต” และ “พระสัตรุต” ต่อมาภายหลังพระรามได้ทำสงครามกับท้าวราพนาสูรเพราะว่าท้าวราพนาสูรมาลักพา ตันาง สีดาผู้เป็นชายาของพระองค์ไปกักขังไว้ที่กรุงลงกา การสงครามครั้งนี้เป็นสงครามระหว่างยักษ์กับมนุษย์โดยมีกองทัพวานร (ลิง) มาช่วยมนุษย์ด้วยโดยที่พระรามมีขุนพลเป็นวานรเป็นวานรคู่พระทัยคือ “หนุมาน” พระรามและพระลักษมณ์ได้คุมกองทัพวานรของสุครีพข้ามทะเลไปทำสงครามกับทศกัณฐ์ เป็นศึกสงครามที่ยืดเยื้อกินเวลาหลายปี ทั้งพระรามและพระลักษมณ์ได้ฆ่าพวกพ้องของท้าวราพนา สูรตายจนหมด จนในที่สุดท้าวราพนาสูรต้องถอยออกมาสู้รบด้วยตนเอง ซึ่งเป็นการรบตัวต่อตัวกับพระรามทั้งสองได้ต่อสู้กันหลายครั้งหลายหน พระรามก็ไม่สามารถสังหารท้าวราพนาสูรได้ พิเภกทูลพระ รามว่าที่ท้าวราพนาสูรไม่ตายนั้นก็เพราะว่าถอดดวงใจฝากไว้กับพระฤาษีโคบุตร ผู้เป็นอาจารย์ พระรามจึงส่งหนุมานไปหลอกเอากล่องดวงใจจากฤาษีโคบุตรมาทำลายเสีย เมื่อหนุมานได้กล่องดวงใจมาแล้ว พระรามก็ออกไปรบกับท้าวราพนาสูรเป็นครั้งสุดท้าย พระรามแผลงศรไปปักอกท้าวราพนาสูร พร้อมกันนั้นหนุมานก็ขยี้กล่องดวงใจของท้าวราพนาสูร ก็ถึงแก่ความตายทันที พระรามจึงโปรดให้จัดพิธีอภิเษก ให้พระยาพิเภกให้เป็นกษัตริย์ครองกรุงลงกาต่อไป
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)